ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากส่วนงานภาครัฐและเอกชน ว่าเป็นปัจจัยหลักในการสร้างความเป็นธรรมแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเสริมสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพ จึงกำหนดให้มีการบริหาร และการกำกับดูแลกิจการที่ดี(Good Corporate Governance) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2542 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2542 เพื่อให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติ โดยกำหนดบทบาทหน้าที่โครงสร้างและกระบวนการทำงานให้เป็นกลไกการบริหารทรัพยากรของสังคมที่โปร่งใส ซื่อตรง เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและมีสมรรถนะสูงในการนำบริการที่มีคุณภาพไปสู่ประชาชน ต่อมารัฐบาลได้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 และตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

นอกจากนี้รัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินที่ดี มุ่งเสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมทั้ง ป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐและประพฤติมิชอบอย่างจริงจัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 ที่เห็นชอบยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ พ.ศ. 2552 - 2555 ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา และนโยบายรัฐบาลดังกล่าว โดยมีกิจกรรมที่สำคัญประจำปี ได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย และการจัดทำแผนการดำเนินงานประจำปี ระยะ 5 ปี และแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภายในหน่วยงาน รวมทั้งการกำหนดให้มีวินัย และจรรยาบรรณของพนักงานการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยใช้ เทคโนโลยีที่ทันสมัย การสรรหาคณะกรรมการตรวจสอบ ธ.ก.ส. การกระจายอำนาจไปสู่ผู้บริหารระดับล่างมากขึ้น การปรับปรุงโครงสร้างและรูปแบบการจัดการองค์กร การปรับปรุงระบบงานให้กระชับขึ้น และการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ธ.ก.ส.


แผนแม่บทปีบัญชี 2554-2558 และแผนงานประจำปีบัญชี 2554
ประกอบด้วย
1. นโยบายของธนาคารที่มุ่งเป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่มั่นคง มีการจัดการที่ทันสมัย
2. การพัฒนาแผนงานเพื่อใช้ในการสร้างโอกาสในการปรับปรุงแผนงานในปีที่ผ่านมา
3. การตอบสนองความต้องการในการพัฒนารัฐวิสาหกิจของกระทรวงการคลังโดยผ่านเกณฑ์การประเมินรัฐวิสาหกิจ
4. หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ธ.ก.ส.

หลักการเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี
1. Accountability ความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติหน้าที่
2. Responsibility ความสำนึกในหน้าที่ ด้วยขีดความสามารถและประสิทธิภาพที่เพียงพอ
3. Equitable Treatment การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยสุจริต และจะต้องพิจารณาให้เกิดความเท่าเทียมกัน
4. Transparency ความโปร่งใส
- ความโปร่งใสในการดำเนินงานที่สามารถตรวจสอบได้
- มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส
5. Value Creation การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่กิจการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มมูลค่าใดๆ นั้น จะต้องเป็นการเพิ่มความสามารถในทุกด้านเพื่อการแข่งขัน
6. Ethics การส่งเสริมพัฒนาการกำกับดูแล และจรรยาบรรณที่ดีในการประกอบธุรกิจ
7. Participation การมีส่วนร่วม เป็นการส่งเสริมให้เกิดการกระจายโอกาสแก่ประชาชนให้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการใดๆ

โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

แผนแม่บทการกำกับดูแลกิจการที่ดี ปีบัญชี 2554-2558 และแผนดำเนินงานประจำปีบัญชี 2554.




คณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี

กฎบัตรคณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีกำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารและพนักงานได้รับทราบถึงเหตุผลการจัดตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี องค์ประกอบ และหน้าที่ความรับผิดชอบ ซึ่งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีปณิธานอันแน่วแน่ที่จะจัดการบริหารองค์กรภายใต้กรอบการบริหารและกำกับดูแลกิจการที่ดี ตามหลักและแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีในรัฐวิสาหกิจของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)

โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
กฎบัตรคณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี



คณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการตรวจสอบจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกลไลในการสนับสนุนให้ ธ.ก.ส. มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และโปร่งใส สอบทานความถูกต้อง และเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน ระบบการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน การบริหารความเสี่ยง และติดตามดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจริยธรรม และจรรยาบรรณในการดำเนินงานของ ธ.ก.ส.

โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
รายชื่อและคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร



ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ภาวะผู้นำองค์กรอัจฉริยะและยุทธศาสตร์ธรรมาภิบาล


Copy to clipboard

กลับสู่ด้านบน