การดำเนินงาน

  1. มุ่งเน้นให้การสนับสนุนการดำเนินงานโครงการธนาคารต้นไม้ ดังนี้
    1. ส่งเสริมประชาชนปลูกต้นไม้ในที่ดินของตนเองและชุมชนตามแนวพระราชดำริ ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง แล้วประเมินมูลค่าต้นไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพื่อเป็นเงินออม เป็นทรัพย์ เป็นหลักทรัพย์ เป็นหลักประกัน ใช้กับรัฐและสถาบันการเงินที่รัฐกำหนด
    2. ส่งเสริมให้ผู้ปลูกต้นไม้ ในชุมชนเดียวกัน หรือ ชุมชนใกล้เคียงกันจัดตั้งเป็นธนาคารต้นไม้ เพื่อสร้างความพอเพียง มั่งคั่ง ยั่งยืน เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนสามารถพึ่งพาตนเอง พึ่งพาซึ่งกันและกัน และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ
    3. เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนปลูกต้นไม้อย่างเป็นระบบมีความโปร่งใส ชัดเจน ถูกต้อง ตรวจสอบได้ มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
    4. ชุมชนเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนเป็นเจ้าของโครงการ ตัดสินใจและดำเนินการเอง ด้วยความสมัครใจ โดยมีภาคีทุกภาคส่วนสนับสนุน
    5. มุ่งสร้างวิถีพอเพียง ผูกพัน แบ่งปัน คน ดิน น้ำ ป่า จากภูผาสู่มหานที (ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ)
    6. ประชาสัมพันธ์ แนวทางการดำเนินงานโครงการธนาคารต้นไม้ ตามที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการธนาคารต้นไม้ คณะทำงานธนาคารต้นไม้ของ ธ.ก.ส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริม/สนับสนุนประชาชน ปลูกต้นไม้
  2. รัฐบาลให้การสนับสนุนโครงการธนาคารต้นไม้ โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลังออกกฎหมายหลักประกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมป่าไม้ สนับสนุนกล้าไม้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบดูแลโครงการธนาคารต้นไม้ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (สพภ.) สนับสนุนด้านวิชาการ เงินทุน ฯลฯ
  3. หน่วยงานสนับสนุน จะเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนด้านองค์ความรู้ วิชาการ การปลูกต้นไม้ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การจัดทำแผนที่ต้นไม้ การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้กระบวนการขับเคลื่อนของชุมชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
  4. ในการดำเนินงานตามโครงการ ต้องจัดทำระบบฐานข้อมูล ทั้งด้านตัวสมาชิก และต้นไม้ที่ปลูกให้ครบถ้วน ชัดเจน รวมทั้งต้องมีการรายงานและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสม