1.1 ธ.ก.ส. ทบทวนสถานการณ์และจัดทำแผนวิสาหกิจ ประจำปีบัญชี 2568 รองรับตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว (ปีบัญชี 2567 - 2575) โดยได้วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ความต้องการความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม มีการวิเคราะห์และจัดทำยุทธศาสตร์ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ เพื่อให้ได้มุมมองในกระบวนการดำเนินงานที่ครบถ้วน ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ ซึ่งจากการวิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลง (Trends) ที่อาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของ ธ.ก.ส. พบประเด็นความท้าทายที่กระทบต่อธนาคาร และโอกาสทางธุรกิจที่ธนาคารสามารถเร่งดำเนินการเพื่อรับโอกาส ดังนี้



1.2 จากโอกาส และความท้าทาย ในปีบัญชี 2568 ธ.ก.ส. ยังคงมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์ (Vision) "ธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน" ครอบคลุมการดำเนินงานใน 2 ส่วน คือ มุ่งสู่การเป็นธนาคารที่ยั่งยืน และมุ่งสู่การส่งเสริมชนบทที่ยั่งยืน ซึ่ง ธ.ก.ส. กำหนดกรอบในการวางยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และแผนงานโครงการ ทั้งในมิติ Perform คือการทำงานที่มุ่งเน้นความมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การทำงานที่ต้องทำเป็นปกติให้ดีกว่าเดิม สามารถให้บริการลูกค้าอย่างเต็มประสิทธิภาพ และมิติ Transform คือการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ที่ดีกว่าเดิม การปรับกระบวนการทำงาน โครงสร้างการบริหาร ผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงสินเชื่อที่มีความแข็งแรง ดังนั้น ธ.ก.ส. จึงกำหนดกรอบในการขับเคลื่อนองค์กร เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการเป็น "ธนาคารที่ยั่งยืน" ด้วยการสร้างความเข้มแข็งขององค์กรด้าน Hard Side และด้าน Soft Side และการมุ่งสู่เป้าหมายในการเป็น "ชนบทที่ยั่งยืน" ด้วยการการขับเคลื่อนภาคชนบทผ่านกลไกในการเป็นแกนกลางภาคการเกษตร Essence of Agriculture ภายใต้การดำเนินงานอย่างมีธรรมาภิบาล (Governance) มีการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) และมีการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (Compliance) แบบบูรณาการ (GRC) มีการกำหนดโครงสร้างการบริหารงานตามหลักบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบแบบถ่วงดุล (3 Lines of Defense) โดยคำนึงถึงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน ตามหลักความยั่งยืน Environment, Social, และ Governance หรือ ESG เพื่อให้มั่นใจว่า ธ.ก.ส. มีการปรับตัวอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับบริบทของโลกใหม่ ให้ความใส่ใจสิ่งแวดล้อม และมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ตามหลักเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานโลก





1.3 ธ.ก.ส. ได้ทบทวนกรอบทิศทางการดำเนินงาน โดยคำนึงถึงการตอบสนองต่อสถานการณ์ได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และการตอบสนองผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญอย่างครบถ้วน ภายใต้การดำเนินงานตามพันธกิจ กรอบความยั่งยืนที่ครอบคลุมถึงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงกำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนงาน 6 ยุทธศาสตร์ พร้อมตัวชี้วัดเป้าหมาย





กลับสู่ด้านบน