วัตถุประสงค์ (Purpose)

วัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการ การส่งเสริมและสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ ธ.ก.ส. คือ

1. การสร้างการรับรู้ เป็นที่รู้จัก และยอมรับแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย

  1. การเพิ่มการรับรู้และทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มยอมรับภาพลักษณ์การเป็นองค์กรที่มุ่งเน้นการกำกับดูแลที่ดี ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาการประกอบธุรกิจธนาคารสู่ความยั่งยืนที่มีพื้นฐานจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  2. การเพิ่มการรับรู้และทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มยอมรับภาพลักษณ์การเป็นธนาคารที่ให้ความสำคัญในการทำให้ลูกค้า/ผู้ใช้บริการทุกกลุ่มเข้าถึงแหล่งเงิน มุ่งยกระดับความสามารถในการบริหารจัดการการเงิน และการพัฒนาภาคการเกษตรแนวใหม่ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องหลากหลาย
  3. การทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มรับรู้ และยอมรับการเป็นธนาคารที่มุ่งเน้นเทคโนโลยีสารสนเทศ/ข้อมูล ดิจิทัล การบริหารจัดการความรู้และนวัตกรรมเป็นกลไกพื้นฐานเพื่อสร้างความยั่งยืน
  1. การสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการการเงินการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบและยั่งยืน ประกอบด้วย
    1. การทำให้พนักงานและลูกจ้างร่วมปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการกำกับดูแลที่ดี ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการบริหารจัดการการเงินการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบและยั่งยืน / การทำให้พนักงานมีทักษะ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และพฤติกรรมพึงประสงค์ที่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการกำกับดูแลที่ดี ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการบริหารจัดการการเงินการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบและยั่งยืนตามแนวทางที่ ธ.ก.ส. ยึดปฏิบัติ
  2. การสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อมุ่งตอบสนองผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
    1. การสร้างความร่วมมือในเชิงบูรณาการกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและภายนอกทุกกลุ่มในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เพื่อร่วมกำหนดทิศทางและบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ ภายใต้บริบทและขีดความสามารถของ ธ.ก.ส. ให้สร้างประโยชน์อย่างสมดุลระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
    2. การสร้างความร่วมมือกับลูกค้า/ผู้ใช้บริการเพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ การปฏิบัติงาน ช่องทางการให้บริการ และการติดต่อ / สื่อสาร / ประชาสัมพันธ์ ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังได้อย่างแท้จริงในเชิงลึก
  3. การลดความเสี่ยงและสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อขับเคลื่อนให้บรรลุทิศทางเชิงยุทธศาสตร์และความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว
    1. การบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงจากผลิตภัณฑ์ บริการและการปฏิบัติงานของ ธ.ก.ส. ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และขับเคลื่อนให้ธนาคารบรรลุได้ตามทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ รวมถึงความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว
  4. การสร้างความพึงพอใจและความผูกพันแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ ธ.ก.ส. ประกอบด้วย
    1. การเสริมสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า/ผู้ใช้บริการทุกกลุ่มทั้งภาคการเกษตร และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ จนเกิดความผูกพันกับธนาคารใน ระยะยาว
    2. การยกระดับความผูกพันและความภักดีของพนักงานและลูกจ้างของ ธ.ก.ส. รวมถึงสหภาพแรงงาน เพื่อทำให้เกิดความร่วมมือและใช้ศักยภาพอย่างเต็มกำลังในการผลักดันธนาคารประสบความสำเร็จ และการเติบโตอย่างมั่นคงทั้งในปัจจุบันและอนาคต
    3. การเสริมสร้างความพึงพอใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ชุมชน/สังคม ทั้งภาคการเกษตร และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ จนเกิดความผูกพันกับธนาคารในระยะยาว
  5. การได้แบ่งปัน แลกเปลี่ยน เรียนรู้ข้อมูลความรู้และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ บริการและการปฏิบัติงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
    1. การแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศและความรู้ กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ บริการ การปฏิบัติงาน ช่องทางการให้บริการ และการติดต่อ / สื่อสาร / ประชาสัมพันธ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าทั้งเชิงพาณิชย์และเชิงสังคมต่อลูกค้า/ผู้ใช้บริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ขอบเขต (Scope)

เพื่อให้บรรลุได้ตามวัตถุประสงค์ข้างต้น จึงได้กำหนดขอบเขต และแนวทาง/วิธีการบริหารจัดการ การส่งเสริมและสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป้าหมาย โดยกำหนดขอบเขตการบริหารจัดการ การส่งเสริมและสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย 3 มิติ คือ

มิติที่ 1 : ด้านกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กำหนดขอบเขตการบริหารจัดการกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป้าหมายทั้งสิ้น 6 กลุ่ม ได้แก่

  1. พนักงานและลูกจ้าง ธ.ก.ส.
  2. หน่วยงานกำกับดูแลภาครัฐ/ผู้ถือหุ้นผู้ถือหุ้น
  3. ลูกค้า/ผู้ใช้บริการผู้ส่งมอบ ประกอบด้วย
    - เกษตรกร
    - บุคคลทั่วไป
    - นิติบุคคล
    - กลุ่มบุคคล
    - องค์กรภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ
  4. คู่ค้า/คู่ความร่วมมือ ประกอบด้วย
    - บริษัท/ธนาคารเพื่อการโอนเงินระหว่างประเทศ
    - องค์กร/บริษัทเพื่อการให้บริการทางการเงินและชำระเงิน
    - คู่ความร่วมมือภาครัฐ เพื่อให้บริการทางการเงินและพัฒนาภาคการเกษตร
    - คู่ความร่วมมือที่ไม่ใช่ภาครัฐเพื่อให้บริการทางการเงินและพัฒนาภาคการเกษตร
  5. ผู้ส่งมอบ
  6. ชุมชน/สังคม

มิติที่ 2 : ด้านพื้นที่เพื่อบริหารจัดการ กำหนดครอบคลุมพื้นที่ที่อยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ และการกำกับดูแล ที่ ธ.ก.ส. สามารถกำหนด ออกแบบ ควบคุมและพัฒนาการดำเนินงานทั้งในระดับนโยบาย การบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ การจัดสรรทรัพยากร การปฏิบัติงาน และการตรวจ ติดตาม และประเมินผลสำเร็จได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งครอบคลุม

1 สำนักงานใหญ่
2 สำนักงานในส่วนภูมิภาค ได้แก่
2.1 ฝ่ายกิจการสาขาภาค (9 ฝ่าย)
2.2 สำนักงานกิจการนครหลวง (1 สำนัก)
2.3 สำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัด (76 สำนักงาน)
2.4 สาขาระดับอำเภอ (1,020 สาขา)
2.5 สาขาย่อย (252 สาขา)
2.6 หน่วยธุรกิจสินเชื่อ (1,100 หน่วย)
2.7 ตลาดกลางสินค้าเกษตรและจุดบริการ (6 จุด)

มิติที่ 3 : ด้านระยะเวลาการบริหารจัดการ กำหนดครอบคลุมระยะเวลาการดำเนินงานสำคัญ คือ

  • ขอบเขตระยะเวลาดำเนินงานระหว่างปี 2565-2569 เพื่อให้สอดคล้องกับรอบปีในการดำเนินงานของแผนวิสาหกิจธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรระยะยาว และแผนปฏิบัติการประจำพ.ศ. 2565 โดยกำหนดรอบระยะเวลาการดำเนินการ เพื่อทำให้ความต้องการ/ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบรรลุผลสำเร็จได้ตามที่กำหนด ประกอบด้วย
    1. รายวัน
    2. รายเดือน
    3. รายไตรมาส
    4. รายครึ่งปี
    5. รายปี
    6. อื่นๆ ตามความเหมาะสม

รายงานผลการดำเนินงาน

รายงานผลการดำเนินงานแผนแม่บทด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประจำปีบัญชี 2564

รายงานผลการดำเนินงานด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปีบัญชี 2565 ไตรมาสที่ 2

รายงานผลการดำเนินงานด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปีบัญชี 2565 ไตรมาสที่ 3


กลับสู่ด้านบน