นอกเหนือจากสิทธิพื้นฐานต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว ธ.ก.ส. ยังได้ดำเนินการในเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมที่เป็นการ ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือ ผู้ถือหุ้นรายย่อย เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง ด้วยวิธีการและมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ ดังนี้

การประชุมผู้ถือหุ้น

  1. กำหนดให้มีการประชุมใหญ่สามัญของผู้ถือหุ้นปีละหนึ่งครั้งภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวัน นับแต่วันสิ้นปีบัญชีของแต่ละปี
  2. ผู้ถือหุ้นทุกรายจะได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี โดยธนาคารจะจัดส่งหนังสือเชิญ ประชุมพร้อมวาระการประชุม วัน เวลา และสถานที่ จัดประชุม รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแห่งกิจการ และสารสนเทศที่จำเป็นอย่างเพียงพอ เพื่อพิจารณาล่วงหน้าก่อนวันประชุมทุกครั้งไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และจะลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นให้สาธารณชนได้ทราบ นอกจากนี้ยังได้เผยแพร่ข้อมูลการเชิญประชุมผ่านทางเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับทราบล่วงหน้า
  3. ได้ชี้แจงสิทธิของผูู้ถือหุ้นในการเข้าประชุมและสิทธิออกเสียงลงมติของผู้ถือหุ้นไว้อย่างชัดเจนในหนังสือเชิญประชุมที่ธนาคารจัดส่งให้
  4. ผู้ถือหุ้นสามารถส่งคำถามล่วงหน้าก่อนวันประชุมได้อย่างอิสระ หรือจะเสนอเรื่องเพื่อพิจารณาบรรจุเป็นวาระการประชุมใหญ่สามัญของผู้ถือหุ้นก็ได้
  5. ในวันประชุมผู้ถือหุ้นได้จัดให้มีการลงทะเบียน โดยใช้ระบบบาร์โค้ดที่แสดงถึงเลขทะเบียนของผู้ถือหุ้นแต่ละรายที่ได้จัดพิมพ์ไว้บนแบบลงทะเบียน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นหรือผู้รับมอบฉันทะนำไปลงทะเบียนได้รับความสะดวกในการประชุมและทำให้ขั้นตอนการลงทะเบียนเป็นไปอย่างรวดเร็ว
  6. ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ผูู้ถือหุ้นสามารถแสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะ หรือถามคำถามในวาระต่าง ๆ ได้อย่างอิสระก่อนการลงมติในแต่ละวาระ
  7. คณะกรรมการ ธ.ก.ส. และผู้บริหารให้ความสำคัญในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อตอบคำถามที่ประชุม
  8. ส่งและเผยแพร่รายงานการประชุมให้ผู้ถือหุ้นทุกรายได้รับทราบโดยทั่วถึง โดยจัดส่งให้ผู้ถือหุ้นรับทราบพร้อมกับหนังสือเชิญประชุมเป็นประจำทุกปี

การมอบฉันทะ

ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง ผู้ถือหุ้นสามารถมอบฉันทะให้บุคคลอื่นเข้าร่วมประชุมแทนตนได้ โดยใช้หนังสือมอบฉันทะที่ได้จัดส่งไปพร้อมกับหนังสือเชิญประชุม ซึ่งจะมีสิทธิตามที่ผู้ถือหุ้นมอบหมาย นอกจากนี้ ธนาคารยังให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นที่เข้าประชุมภายหลังจากประธานในที่ประชุมเปิดประชุมแล้ว สามารถออกเสียงลงคะแนนได้ในวาระที่อยู่ระหว่างการพิจารณา และยังไม่ได้มีการลงมติ และนับเป็นองค์ประชุมตั้งแต่วาระที่ได้เข้าประชุมเป็นต้นไป เว้นแต่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะมีความเห็นเป็นอย่างอื่น

การออกเสียงลงคะแนนและนับผลคะแนน

  1. ผู้ถือหุ้นทุกรายมีสิทธิเข้าร่วมการประชุมและออกเสียงลงมติตามวาระการประชุมทุกวาระ โดยออก เสียงลงคะแนน เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือ งดออกเสียง ตามแต่ละวาระที่เสนอเพื่อทราบหรือเพื่อพิจารณา ซึ่ง การนับคะแนนเสียงให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นมติ เว้นแต่กฎหมายกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้สามารถลงคะแนน เสียงได้ 2 วิธี คือ
    1) การลงคะแนนเสียงแบบเปิดเผยโดยวิธีชูมือ โดยผู้ถือหุ้นแต่ละรายมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่ง เสียง
    2) การลงคะแนนเสียงแบบลับ ในกรณีที่ประชุมมีผู้ถือหุ้นสองคนเป็นอย่างน้อยมีการร้องขอให้ ลงคะแนนลับ โดยผู้ถือหุ้นแต่ละรายมีเท่ากับจำนวนหุ้นที่ถือ
  2. การนับผลการลงคะแนนเสียงในแต่ละวาระ ธนาคารจะนับคะแนนเสียงของผู้ถือหุ้นในที่ประชุม เฉพาะที่ออกเสียงไม่เห็นด้วย และงดออกเสียง แล้วนำไปหักออกจากจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุม เพื่อให้เกิดความถูกต้องรวดเร็วสามารถประกาศผลคะแนนได้ทันทีหลังจากจบการพิจารณาแต่ละวาระ โดยเมื่อจบ การประชุมผู้ถือหุ้นสามารถขอตรวจสอบรายละเอียดได้
  3. ดูแล และอำนวยความสะดวกในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งการลงคะแนนเสียงอย่าง เหมาะสมภายใต้กรอบกฎหมายที่กำหนด

กลับสู่ด้านบน