รายละเอียดผลิตภัณฑ์และบริการ

Extra Card
ชื่อผลิตภัณฑ์
บัตรเดบิตบุษย์น้ำทอง
ประเภทผลิตภัณฑ์
บัตรเดบิต PromptCard มาตรฐาน Thai standard แบบมีประกันภัย
ค่าธรรมเนียม สมัครบัตรใหม่
699 บาท
วงเงิน/วัน ผู้ใช้บริการสามารถปรับเพิ่มไม่เกินวงเงินสูงสุด และปรับลดวงเงินได้ (ติดต่อ ธ.ก.ส. สาขาทั่วประเทศ)
  • ผู้ใช้บริการสามารถเลือกวงเงินสูงสุด 120,000 บาท/วัน โดยสามารถเลือกกำหนดวงเงินสูงสุดต่อวันได้ 3 วงเงิน คือ 80,000 บาท/วัน หรือ 100,000 บาท/วัน หรือ 120,000 บาท/วัน
  • ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM/CDM สูงสุด 120,000 บาท/วัน หรือตามวงเงินสูงสุดต่อวันที่ผู้ใช้บริการกำหนด
  • โอนเงินระหว่างบัญชีภายในบัตร สูงสุด 120,000 บาท/วัน หรือตามวงเงินสูงสุดต่อวันที่ผู้ใช้บริการกำหนด
  • โอนเงินภายใน ธ.ก.ส. สูงสุด 120,000 บาท/วัน หรือตามวงเงินสูงสุดต่อวันที่ผู้ใช้บริการกำหนด
  • โอนเงินระหว่างธนาคาร สูงสุด 120,000 บาท/วัน หรือตามวงเงินสูงสุดต่อวันที่ผู้ใช้บริการกำหนด
  • โอนเงินไปบัญชี Prompt Pay สูงสุด 120,000 บาท/วัน หรือตามวงเงินสูงสุดต่อวันที่ผู้ใช้บริการกำหนด
  • ชำระค่าสินค้าหรือบริการ (Bill Payment) สูงสุด 120,000 บาท/วัน หรือตามวงเงินสูงสุดต่อวันที่ผู้ใช้บริการกำหนด
  • ชำระค่าสินค้าหรือบริการ ผ่านเครื่อง EDC/mPOS เครื่องรับบัตรที่มีสัญลักษณ์ Contactlessณ ร้านค้าภายในประเทศที่รับบัตรมาตรฐาน Thai Standard สูงสุด 120,000 บาท/วัน หรือตามวงเงินสูงสุดต่อวันที่ผู้ใช้บริการกำหนด

เงื่อนไขการสมัคร

  • บุคคลทั่วไป อายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 75 ปี ณ วันที่ขอใช้บริการบัตร
  • 1 ท่าน สมัครบัตรเดบิตบุษย์น้ำทอง ได้ 1 บัตร เท่านั้น
  • ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือน ไร้ความสามารถ และไม่เป็นคนพิการ มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง และไม่มีโรคประจำตัว ณ วันที่ขอใช้บริการบัตร
  • มีบัญชี ธ.ก.ส. ประเภทบัญชีออมทรัพย์ หรือบัญชีกระแสรายวัน ประเภทบุคคลธรรมดา
  • บัตรเดบิตบุษย์น้ำทอง 1 ใบ ผูกบัญชีเงินฝากได้สูงสุด 6 บัญชี โดยผูกบัญชีออมทรัพย์ได้ไม่เกิน 3 บัญชี บัญชีกระแสรายวันได้ไม่เกิน 3 บัญชี และผูกบัญชีสินเชื่อ

เงื่อนไขการฝาก/ถอน/โอน สิทธิประโยชน์และเงื่อนไขอื่นๆ

เงื่อนไขการใช้บริการ

  • ฝากเงินสดที่เครื่องรับฝากเงิน (CDM) เข้าบัญชีที่ผูกกับบัตรเดบิต ได้สูงสุดไม่เกิน 100 ฉบับ/ครั้ง
  • เบิกถอนเงินได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งต่อวัน ครั้งละไม่เกิน 20,000 บาท และสูงสุดไม่เกินวงเงินของบัตรต่อวัน
  • โอนเงินรายย่อยระหว่างธนาคาร (ORFT) ผ่านเครื่อง ATM/CDM ธ.ก.ส. หรือ ธนาคารอื่นที่เปิดให้บริการ โอนเงินได้ไม่เกิน 50,000 บาท/ครั้ง และสูงสุดไม่เกินวงเงินของบัตรต่อวัน
  • โอนเงินภายใน ธ.ก.ส. (ภายในบัตร/บัญชีอื่น) สูงสุดไม่เกินวงเงินของบัตรต่อวัน
  • โอนเงินไปบัญชี Prompt Pay ได้ไม่เกิน 120,000 บาท/ครั้ง และสูงสุดไม่เกินวงเงินของบัตรต่อวัน
  • ชำระค่าสินค้าหรือบริการ ผ่านเครื่อง EDC/mPOS เครื่องรับบัตรที่มีสัญลักษณ์ Contactlessณ ร้านค้าภายในประเทศที่รับบัตรมาตรฐาน Thai Standard สูงสุดไม่เกินวงเงินของบัตรต่อวัน
  • ชำระค่าสินค้าและบริการ ของบริษัทหน่วยงานต่าง ๆ ที่ธนาคารเปิดให้บริการ ที่เครื่อง ATM/CDM ธ.ก.ส. เช่น AIS 3G Citibank เป็นต้น สูงสุดไม่เกินวงเงินของบัตรต่อวัน

ค่าธรรมเนียมการถอนเงินสด

  • ถอนเงินที่เครื่อง ATM/CDM ธ.ก.ส. ในเขต (จังหวัด) ฟรี (กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ จัดเป็นจังหวัดเดียวกัน)
  • ถอนเงินที่เครื่อง ATM/CDM ธ.ก.ส. ข้ามเขต (จังหวัด) 10 บาท/ครั้ง
  • ถอนเงินที่เครื่อง ATM/CDM ธนาคารอื่น ในเขต (จังหวัด) ฟรี 4 ครั้ง/เดือน ครั้งที่ 5 ขึ้นไป 10 บาท/ครั้ง
  • ถอนเงินที่เครื่อง ATM/CDM ธนาคารอื่น ข้ามเขต (จังหวัด) 20 บาท/ครั้ง ครั้งที่ 5 ขึ้นไป 30 บาท/ครั้ง

ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน

  • โอนเงินระหว่างบัญชีที่ผูกกับบัตร และโอนเงินไปเข้าบัญชีบุคคลอื่นใน ธ.ก.ส. ที่เครื่อง ATM/CDM ธ.ก.ส. ในเขต (จังหวัด) ฟรี
  • โอนเงินระหว่างบัญชีที่ผูกกับบัตร และโอนเงินไปเข้าบัญชีบุคคลอื่นใน ธ.ก.ส. ที่เครื่อง ATM/CDM ธ.ก.ส. ข้ามเขต (จังหวัด) ฟรีครั้งแรกของเดือน ตั้งแต่ครั้งที่ 2 ขึ้นไป 10 บาท/ครั้ง
  • ถอนเงิน/ถามยอด/โอนเงินระหว่างบัญชีที่ผูกกับบัตร และโอนเงินไปเข้าบุคคลอื่นใน ธ.ก.ส. ที่เครื่อง ATM/CDM ธ.ก.ส. ฟรี 7 ครั้ง/บัตร/วัน ตั้งแต่ครั้งที่ 8 ขึ้นไป 3 บาท/ครั้ง
  • โอนเงินระหว่างบัญชีภายในบัตร ที่เครื่อง ATM/CDM ธนาคารอื่น ในเขต (จังหวัด) ฟรี 4 ครั้ง/เดือน ตั้งแต่ครั้งที่ 5 ขึ้นไป 10 บาท/ครั้ง
  • โอนเงินระหว่างบัญชีภายในบัตรที่เครื่อง ATM/CDM ธนาคารอื่น ข้ามเขต (จังหวัด) หมื่นละ 10 บาท บวกค่าบริการ 10 บาท/ครั้ง
  • โอนเงินไปยังบัญชี Prompt Pay ระหว่างบุคคล ไม่เกิน 5,000 บาท ฟรี มากกว่า 5,000 บาท แต่ไม่เกิน 30,000 บาท ค่าบริการ 2 บาท มากกว่า 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ค่าบริการ 5 บาท มากกว่า 100,000 บาท ค่าบริการ 10 บาท

ค่าธรรมเนียมการโอนเงินรายย่อยระหว่างธนาคาร (ORFT)

  • โอนไม่เกิน 10,000 บาท ค่าธรรมเนียม 25 บาท
  • โอนมากกว่า 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 50,000 บาท ค่าธรรมเนียม 35 บาท

ค่าธรรมเนียมการฝากเงินสดผ่านเครื่อง CDM

  • ฝากเงินสดเข้าบัญชีปลายทาง ธ.ก.ส. ในสาขาเดียวกัน และต่างสาขา ภายในเขตเดียวกัน ฟรี
  • ฝากเงินสดเข้าบัญชีปลายทาง ธ.ก.ส. ต่างสาขา นอกเขต ค่าบริการ 10 บาท/ครั้ง และค่าธรรมเนียม ร้อยละ 0.10 ของจำนวนเงินที่รับฝาก ขั้นต่ำ 10 บาท/รายการ (เศษสตางค์ปัดขึ้นเป็นจำนวนเต็มบาท รวมขั้นต่ำ 20 บาท/รายการ)

การประกันภัย

บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม ทิพยแบบพิเศษวงเงินคุ้มครองสูงสุด 200,000 บาท

เงื่อนไขความคุ้มครอง

ข้อ

ตารางผลประโยชน์

วงเงินความคุ้มครอง

1

ผลประโยชน์การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง (อบ.1) อันเนื่องมาจาก อุบัติเหตุ

  • จากอุบัติเหตุทั่วไป
  • จากการถูกฆาตกรรมหรือถูกทำร้ายร่างกาย
  • จากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์

100,000 บาท

30,000 บาท

30,000 บาท

2

ผลประโยชน์การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง (อ.บ.1) จากอุบัติเหตุสาธารณะ (เพิ่มเติมจากข้อ1)

100,000 บาท

3

ผลประโยชน์การรักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ (ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง) รวมถึงการรักษาต่อเนื่อง (รวมถึงการถูกฆาตกรรมหรือถูกทำร้ายร่างกาย และ/หรือการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์)

ไม่จำกัดจำนวนครั้งตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย

สูงสุด 5,000 บาท/ครั้ง

สูงสุด 20,000 บาท/ปี

4

ผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลอันเนื่องมาจากบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ กรณีเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล ตั้งแต่ 4 วันขึ้นไป โดยจ่ายตามจำนวนวันเข้าพักจริงนับตั้งแต่เข้าพักวันแรก

500 บาท/วัน

สูงสุด 10 วัน/ปี

    เงื่อนไขเพิ่มเติม : กรณีเกิดอุบัติเหตุขณะโดยสารยานพาหนะสาธารณะ หรืออยู่ในอาคารสาธารณะและเกิดไฟไหม้ขึ้น หรือลิฟท์สาธารณะ

    คำจำกัดความเพิ่มเติม

    อาคารสาธารณะ หมายถึง อาคารของรัฐหรือเอกชน ซึ่งเปิดหรือยินยอมให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้บริการตามที่กำหนดเวลาเปิดให้บริการ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเก็บค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม

    ยานพาหนะสาธารณะ หมายถึง ยานพาหนะสาธารณะซึ่งระบุไว้ในความคุ้มครอง (ไม่รวมกรณีที่เป็นการใช้บรรทุกผู้โดยสารแบบให้เช่าเหมาลำ Chartered)

การใช้สิทธิรักษาพยาบาล

  • เมื่อประสบอุบัติเหตุ ให้ผู้ถือบัตรแสดงบัตรเดบิต บุษย์น้ำทอง และบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อรับสิทธิเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลในโครงการ โดยไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลเว้นแต่
    • a. ภายใน 5 วัน นับจากวันที่สมัครทำบัตร
      b. อยู่ในระยะเวลาผ่อนผัน เนื่องจากหักค่าธรรมเนียมรายปีไม่ได้

  • หากผู้ถือบัตรเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลในโครงการ ผู้ถือบัตรจะต้องทำการสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน โดยสามารถส่งเอกสารมาเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้
  • กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลนอกโครงการ ผู้ถือบัตรจะต้องทำการสำรองจ่าย ค่ารักษาพยาบาลไปก่อน โดยสามารถส่งเอกสารมาเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทุกสาขาทั่วประเทศ
  • Call Center ธ.ก.ส. 0-2555-0555 ตลอด 24 ชั่วโมง
  • เว็บไซต์ www.baac.or.th


กลับสู่ด้านบน