คเนพร พิทักษ์พงค์....เรื่อง หนุมานประสานกายไม้พุ่มความ สูง 1-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำใกล้พื้นดิน เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล

ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับมีใบย่อย 6-8 ใบ รูปรี กว้าง 1.5-3 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร โคนใบแหลม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกเล็กสีขาวนวล ผล เป็นผลสีเนื้อ รูปทรงกลมขนาดเล็กสรรพคุณ ใบ รสหอมเผ็ดปร่า ขมฝาดเล็กน้อย เรานำมาตำผสมกับสุราหรือต้มดื่มกับน้ำ แก้เจ็บคอ คออักเสบ แก้ปอดและหลอดลมอักเสบ แก้ช้ำในแก้เส้นเลือดฝอยในสมองแตก ทำให้เป็นอัมพาต แก้อาเจียนเป็นเลือด ตำพอกแผลสด ห้ามเลือด สมานแผล แก้อักเสบบวม กระจายเลือดที่จับเป็นก้อนหรือคั่งในสมอง เส้นเลือด ในสมองแตก เนื่องจากกระทบกระแทก เป็นอัมพาตสรรพคุณทั้งต้น มีรสหอมเผ็ดปร่า ขมฝาดเล็กน้อย
เรานำมาใช้ปรุงเป็นยา แก้ปวดเมื่อยตามเนื้อ ตัว แก้อัมพฤกษ์ ทำให้เลือดลมเดินสะดวก ต้มดื่มรักษา โรคกระเพาะอาหารและลำไส้ ทั้งนี้ ส่วนที่เรานำมาใช้เป็นยาคือ ใบสด โดยมีสาระสำคัญ 2 ชนิด คือ ชนิดที่ 1 มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อหลอดลมขยายแต่ไปกดหัวใน ส่วนชนิดที่ 2 มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อหลอดลมตีบและไปกระตุ้นหัวใจซึ่งสาระสำคัญเหล่านี้เป็นสารกลุ่มซาโปนินมี 5 ชนิด นอกจากนี้ยังพบสารพวก butulinic และ oleic acid , น้ำตาลD-glucose , D-xylose ซึ่งสาระสำคัญ ที่พบ จะสอดคล้องกับตำรายาไทยโบราณที่มีการนำใบหนุมานประสานกาย ไปใช้ประโยชน์ในการรักษาตนเองเบื้องต้น
วิธีและปริมาณที่ใช้ คือ รักษาโรคหืด แพ้อากาศ ขับเสมหะและโรคหลอดลมอักเสบ ให้ใช้ใบสดเล็กๆ 9 ใบ ต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ1 ถ้วย ดื่มวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า - เย็น เป็นเวลา 49 วัน , ยาแก้อาเจียนเป็นเลือด ใช้ใบสด 12 ใบย่อย ตำคั้นน้ำ 2 ถ้วยตะไล ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยตะไล ติดต่อกัน 5-7 วัน, ใช้รักษาวัณโรค ใช้เหมือนวิธีที่ 1 ติดต่อกัน 60 วัย
แล้ว x-ray ดู ปอดจะหาย แล้วให้รับประทานต่อมาอีกระยะหนึ่ง,ใช้หนุมานประสานกาย 1-3 ช่อ ตำละเอียด ต้มกับน้ำครึ่งแก้วแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง ใช้น้ำยานี้ดื่มทุกเช้า-เย็น เป็นตัวยาค่อนข้างเข้มข้น เหมาะสำหรับรักษาโรคช้ำใน, รับประทานใบสด1-2 ใบ เคี่ยวให้ละเอียดแล้วกลืนเช้า-เย็น เหมาะกับอาการแผลในปากที่เกิดจากร้อนใน , ใช้ใบสดตำให้ละเอียด เอากากมาพอกหรือทาสมานแผลและห้ามเลือด , แก้เจ็บคอ ใช้ใบหนุมานประสานกายเคี้ยวสดๆ กลืนช้าๆ, การตกเลือด เนื่องจากการคลอดบุตรในระหว่างคลอดหรือภายหลังคลอดบุตร หรือเนื่องจากการตกเลือด เพราะใกล้หมดประจำเดือน ให้เอาใบหนุมานประสานกายสด 10-15 ช่อ ตำให้ละเอียด ผสมเหล้าโรง4-6 ช้อน แล้วคั้นเอาน้ำดื่ม นอกจากนี้ การดื่มน้ำหนุมานประสานกาย ยังสามารถแก้โรคหอบหืด แก้อาการแพ้อากาศแก้แพ้ละออง เกสรดอกไม้ แพ้ฝุ่นละออง แก้โรคเรื้อรัง โดยเราจะใช้ใบหนุมานประสานกาย 15 ใบ, ใบเตยหอม 1 ถ้วยตวง, และน้ำสะอาด50 ซี.ซี เอาใบสดของหนุมานประสานกายมาล้างให้สะอาดแล้วหั่นให้ละเอียดใส่ใบเตยหอมสด ต้มให้เดือดเคี่ยวให้งวด พอเย็นตัวลงก็สามารถดื่มได้ทันที ทั้งนี้ข้อควรระวัง คือ ตำรับนี้ ไม่ควรใช้ในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ เพราะหนุมานประสานกายมีสารช่วยขยายหลอดลม ซึ่งจะมีผลข้างเคียงทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น
นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยประกอบด้วยรศ.ดร.ณรงค์ จึงสมานญาติ,ผศ.ดร.ศิริรักษ์ จันทครุ ,คุณกฤษณา แสงประไพทิพย์ และคุณผกาวดี พงษ์เกษภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังมีการทดลอง สกัดสารเอทานอลจากใบหนุมานประสานกาย เพื่อนำมากระตุ้นกระบวนการหายของบาดแผลในสุนัข จากการวิจัย พบว่า สารสกัดดังกล่าวสามารถเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ และเพิ่มการหดตัวของแผล ซึ่งช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นการกระตุ้นกระบวนการหายของแผลสุนัขโดยใช้สารสกัดเอทานอล จากใบหนุมานประสานกาย ทดลองโดยนำสารสกัดหยาบ ทาลงบนบาดแผลบริเวณหลังของสุนัข โดยทาสมุนไพรวันละ 1 ครั้ง จนแผลหายสนิท และสังเกตผลการใช้สมุนไพร เปรียบเทียบกับแผลที่ไม่ได้ใช้สมุนไพร และแผลที่ใช้ยารักษาแผลพบว่า สารสกัดสมุนไพรที่ใช้มีคุณสมบัติไม่แตกต่างจากยารักษาแผลมากนักโดยสามารถกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อบุผิวให้เร็วขึ้น และเพิ่มการหดตัวของบาดแผลได้มากกว่าแผลที่ไม่ได้ใช้สมุนไพร
ดังนั้นสารสกัดหยาบจากใบหนุมานประสานกาย เราจึงสามารถนำมาใช้ในการรักษาบาดแผลที่ผิวหนังของสุนัขได้ โดยหากเป็นบาดแผลลึกหรือมีขนาดใหญ่ ควรเลือกใช้สมุนไพรที่มีความเข้มข้นสูง เพื่อเพิ่มการหดตัวของแผลก่อน แล้วจึงค่อยลดความเข้มข้นลง เมื่อบาดแผลมีขนาดเล็กลง ทั้งนี้การนำสารสกัดหยาบของใบหนุมานประสานกายมาใช้ ยังเป็นการช่วยลดระยะเวลา และค่าใช้จ่ายของเจ้าของในการรักษาแผลสุนัข และเป็นการเพิ่มมูลค่าของพืชสมุนไพรไทย ให้มากว่าขึ้นกว่าเดิม ทั้งยัง ทำให้สมุนไพรไทยเป็นที่ยอมรับของนานาชาติมากขึ้น

ที่มา: หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย
อ้างอิงจาก www.pandinthong.com


1 มิถุนายน 2553

Copy to clipboard

กลับสู่ด้านบน